กูเตนแบร์กได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ที่ถอดได้ขึ้นในยุโรป
ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อจากการพิมพ์แบบบล็อกที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น เมื่อรวมส่วนประกอบต่าง
ๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันในระบบการผลิตแล้ว เขาได้ทำให้การพิมพ์อย่างรวดเร็วเป็นไปได้
และทำให้ข้อมูล
ข่าวสารแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป ในวัยเด็ก
กูเตนเบิร์กติดตามบิดาไปโบสถ์เพื่อดูการพิมพ์ภาพ และเห็นว่าการแกะสลักบล็อกไม้เป็นเรื่องยากส่งผลให้หนังสือมีราคาแพงและไม่ค่อยแพร่หลาย
เขาจึงใฝ่ฝันอยากสร้างเครื่องที่สามารถพิมพ์หนังสือได้รวดเร็วนับแต่นั้นมา
ราว ค.ศ.
1411 ประเทศเยอรมนีเกิดเหตุจลาจล บ้านเรือนกว่าร้อยหลังคาเรือนถูกยึด กูเตนเบิร์กพลัดถิ่นไปอยู่ที่เมืองอัลทา
(Alta Villa) เข้าเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเออเฟิร์ต (The University of Erfurt) ดังที่มีชื่อปรากฏในบันทึกของมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ. 1419 ซึ่งเป็นปีเดียวกับบิดาของเขาเสียชีวิตค.ศ.
1448 กูเตนเบิร์กเดินทางกลับเมืองไมนซ์ เพื่อยืมเงินญาติและเพื่อนมาลงทุนทำโรงพิมพ์
สุดท้ายเพื่อนชื่อโยฮันน์ ฟัสต์ (Johann
Fust) ให้ยืมเงิน 800 กิลเดอร์ (Gilder)
![]() |
อนุสาวรีย์โยฮันส์ กูเตนเบิร์ก (ณ จัตุรัสกลางนครแฟรงก์เฟิร์ต) ผู้ให้กำเนิดแท่นพิมพ์คนแรกของโลก |
ผลกระทบจากการคิดค้นแท่นพิมพ์ของกูเต็นเบิร์กก็คือ
บาทหลวงมาร์ตินลูเธอร์ (Martin
Luther) สามารถเขียนบทโจมตีโบสถ์คาธอลิก 95 ข้อและคัมภีร์ไบเบิลภาษาท้องถิ่นก็สามารถแพร่ขยายอย่างรวดเร็ว
ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้คนในท้องถิ่นสามารถเข้าใจศาสนาด้วยตนเองแทนที่จะผู้ขาดอยู่แต่ในมือของนักบวชและที่สำคัญมันช่วยให้การประท้วงของ
มาร์ตินลูเธอร์ สัมฤทธิ์ผลจนนำมาสู่การสถาปนานิกายโปรเตสเตนส์ในเวลาต่อมา
1. บทความชิ้นแรกไปไหนคะ ไม่เห็นมีเผยแพร่ ไปตรวจสอบด้วยค่ะ
ตอบลบ2. บทความนี้ นศ.เอามาจากเว็บหมดเลย ตรงไหนที่เป็นความคิดของนักศึกษาบ้างคะ ครูสั่งให้วิเคราะห์ "ผลกระทบ" แปลว่า ต้องการให้คิดวิเคราะห์เอง ไม่ใช่ลอกมานะคะ
3. บทความต่อไปให้เขียนเรื่อง "นักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิตัล" ส่งภายในสิ้นเดือนกันยายนนะคะ