หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โยฮันน์ กูเทนแบร์ก บิดาแห่งการพิมพ์


กูเตนแบร์กได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ที่ถอดได้ขึ้นในยุโรป ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อจากการพิมพ์แบบบล็อกที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น เมื่อรวมส่วนประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันในระบบการผลิตแล้ว เขาได้ทำให้การพิมพ์อย่างรวดเร็วเป็นไปได้ และทำให้ข้อมูล
ข่าวสารแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป ในวัยเด็ก กูเตนเบิร์กติดตามบิดาไปโบสถ์เพื่อดูการพิมพ์ภาพ และเห็นว่าการแกะสลักบล็อกไม้เป็นเรื่องยากส่งผลให้หนังสือมีราคาแพงและไม่ค่อยแพร่หลาย เขาจึงใฝ่ฝันอยากสร้างเครื่องที่สามารถพิมพ์หนังสือได้รวดเร็วนับแต่นั้นมา

ราว ค.ศ. 1411 ประเทศเยอรมนีเกิดเหตุจลาจล บ้านเรือนกว่าร้อยหลังคาเรือนถูกยึด กูเตนเบิร์กพลัดถิ่นไปอยู่ที่เมืองอัลทา (Alta Villa) เข้าเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเออเฟิร์ต (The University of Erfurt) ดังที่มีชื่อปรากฏในบันทึกของมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ. 1419 ซึ่งเป็นปีเดียวกับบิดาของเขาเสียชีวิตค.ศ. 1448 กูเตนเบิร์กเดินทางกลับเมืองไมนซ์ เพื่อยืมเงินญาติและเพื่อนมาลงทุนทำโรงพิมพ์ สุดท้ายเพื่อนชื่อโยฮันน์ ฟัสต์ (Johann Fust) ให้ยืมเงิน 800 กิลเดอร์ (Gilder)
อนุสาวรีย์โยฮันส์ กูเตนเบิร์ก (ณ จัตุรัสกลางนครแฟรงก์เฟิร์ต) ผู้ให้กำเนิดแท่นพิมพ์คนแรกของโลก

ผลกระทบจากการคิดค้นแท่นพิมพ์ของกูเต็นเบิร์กก็คือ บาทหลวงมาร์ตินลูเธอร์ (Martin Luther) สามารถเขียนบทโจมตีโบสถ์คาธอลิก 95 ข้อและคัมภีร์ไบเบิลภาษาท้องถิ่นก็สามารถแพร่ขยายอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้คนในท้องถิ่นสามารถเข้าใจศาสนาด้วยตนเองแทนที่จะผู้ขาดอยู่แต่ในมือของนักบวชและที่สำคัญมันช่วยให้การประท้วงของ มาร์ตินลูเธอร์ สัมฤทธิ์ผลจนนำมาสู่การสถาปนานิกายโปรเตสเตนส์ในเวลาต่อมา

1 ความคิดเห็น:

  1. 1. บทความชิ้นแรกไปไหนคะ ไม่เห็นมีเผยแพร่ ไปตรวจสอบด้วยค่ะ
    2. บทความนี้ นศ.เอามาจากเว็บหมดเลย ตรงไหนที่เป็นความคิดของนักศึกษาบ้างคะ ครูสั่งให้วิเคราะห์ "ผลกระทบ" แปลว่า ต้องการให้คิดวิเคราะห์เอง ไม่ใช่ลอกมานะคะ
    3. บทความต่อไปให้เขียนเรื่อง "นักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิตัล" ส่งภายในสิ้นเดือนกันยายนนะคะ

    ตอบลบ