หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โยฮันน์ กูเทนแบร์ก บิดาแห่งการพิมพ์


กูเตนแบร์กได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ที่ถอดได้ขึ้นในยุโรป ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อจากการพิมพ์แบบบล็อกที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น เมื่อรวมส่วนประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันในระบบการผลิตแล้ว เขาได้ทำให้การพิมพ์อย่างรวดเร็วเป็นไปได้ และทำให้ข้อมูล
ข่าวสารแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป ในวัยเด็ก กูเตนเบิร์กติดตามบิดาไปโบสถ์เพื่อดูการพิมพ์ภาพ และเห็นว่าการแกะสลักบล็อกไม้เป็นเรื่องยากส่งผลให้หนังสือมีราคาแพงและไม่ค่อยแพร่หลาย เขาจึงใฝ่ฝันอยากสร้างเครื่องที่สามารถพิมพ์หนังสือได้รวดเร็วนับแต่นั้นมา

ราว ค.ศ. 1411 ประเทศเยอรมนีเกิดเหตุจลาจล บ้านเรือนกว่าร้อยหลังคาเรือนถูกยึด กูเตนเบิร์กพลัดถิ่นไปอยู่ที่เมืองอัลทา (Alta Villa) เข้าเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเออเฟิร์ต (The University of Erfurt) ดังที่มีชื่อปรากฏในบันทึกของมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ. 1419 ซึ่งเป็นปีเดียวกับบิดาของเขาเสียชีวิตค.ศ. 1448 กูเตนเบิร์กเดินทางกลับเมืองไมนซ์ เพื่อยืมเงินญาติและเพื่อนมาลงทุนทำโรงพิมพ์ สุดท้ายเพื่อนชื่อโยฮันน์ ฟัสต์ (Johann Fust) ให้ยืมเงิน 800 กิลเดอร์ (Gilder)
อนุสาวรีย์โยฮันส์ กูเตนเบิร์ก (ณ จัตุรัสกลางนครแฟรงก์เฟิร์ต) ผู้ให้กำเนิดแท่นพิมพ์คนแรกของโลก

ผลกระทบจากการคิดค้นแท่นพิมพ์ของกูเต็นเบิร์กก็คือ บาทหลวงมาร์ตินลูเธอร์ (Martin Luther) สามารถเขียนบทโจมตีโบสถ์คาธอลิก 95 ข้อและคัมภีร์ไบเบิลภาษาท้องถิ่นก็สามารถแพร่ขยายอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้คนในท้องถิ่นสามารถเข้าใจศาสนาด้วยตนเองแทนที่จะผู้ขาดอยู่แต่ในมือของนักบวชและที่สำคัญมันช่วยให้การประท้วงของ มาร์ตินลูเธอร์ สัมฤทธิ์ผลจนนำมาสู่การสถาปนานิกายโปรเตสเตนส์ในเวลาต่อมา

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครอบครัวน้องใหม่

          

 บทความต่อไปนี้เป็นเรื่องราวชีวิตจริงประสบการณ์จริงของผู้เขียน เป็นเรื่องราวแห่งความรู้สึกประทับใจกับการที่ได้เข้ามาสัมผัสก้าวแรกของความเป็นเฟรชชี่น้องใหม่ ในรั้วมหาลัยก่อนก้าวสู่การเป็นเด็กมหาลัยอย่างเต็มตัว จากพี่ๆปีสองปีสาม ที่ล้วนแต่มีประสบการณ์ก้าวผ่านการเป็นน้องใหม่มาทั้งสิ้น
         



          หลังจากใช้เวลาหกปีกับการเป็นเด็กมัธยมในรั้วโรงเรียนแล้วก้าวต่อไปคือการก้าวไปเป็นเด็กมหาลัย มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่เพื่อการดำเนินการรับการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่ต่างจากเด็กมัธยมโดยชิ้นเชิงกับการมาเป็นนักศึกษามหาลัย ฉันได้เข้ามาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย โดยส่วนตัวฉันชอบการถ่ายรูปภาพมากแม้จะออกมาไม่สวย ฉันจึงตัดสินใจเข้าคณะวิทยาการจัดการโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์แขนงสาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ บทบาทแรกที่ฉันได้ก้าวเข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็คือความเป็นเฟรชชี่น้องใหม่ของสาขา ฉันเริ่มที่จะทักทายเพื่อนๆในสาขาผ่านทางโลกออนไลน์โดยทางเฟสบุ๊คเพราะในวันรายงานตัวพี่ๆได้ให้น้องฝากเฟสบุ๊คไว้เพื่อพี่ๆจะได้นำน้องเข้าสู่กลุ่มได้ทำความรู้จักและแจ้งข่าวสารต่างๆ เมื่อกิจกรรมแรกได้เริ่มต้นขึ้นกับน้องใหม่อย่างฉันนั่นคือการรับน้อง ในมุมมองแรกเริ่มฉันไม่ชอบกิจกรรมนี้สักเท่าไหร่เพราะที่ผ่านมาก็มีข่าวคราวการรับน้องที่เรียกว่าโหดแม้จะไม่ใช่สถาบันที่ศึกษาก็ตาม แต่ในความคิดฉันนั้นยังไงมันก็คงเหมือนกันไปหมด แต่สาเหตุที่ทำให้ฉันอยากมาร่วมรับน้องเพราะอยากได้ประสบการณ์จากการรับน้องอยากรู้จักเพื่อนๆพี่ๆ ฉันและเพื่อนได้ใช้เวลาร่วมกิจกรรมนี้เป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์เราใช้เวลาที่ว่างหลังจากเรียนเสร็จเพื่อเริ่มกิจกรรม การเข้าร่วมรับน้องใหม่ในครั้งนี้ของฉันมันทำให้ฉันได้ปรับเปลี่ยนมุมมองด้านลบกลายเป็นด้านบวกมากขึ้นฉันชอบกิจกรรมนี้และรู้สึกประทับใจมาก การรับน้องสอนอะไรได้หลายๆด้าน สอนหลายอย่างให้กับรุ่นน้องฝึกความเป็นระเบียบมีวินัย รู้จักตรงต่อเวลา รู้จักการแบ่งปัน ความอดทนต่อสิ่งที่เราจะได้มา ทั้งความสุข ความทุกข์ ความเศร้า สอนให้เรียนรู้ว่าบางสิ่งบางอย่างเมื่อได้มันมากอย่างยากลำบากมันมักมีค่าเสมอ และยังคุ้มค่ากับสิ่งที่เราได้ทำผ่านมันมา ทำให้เราได้รู้จักเพื่อนรู้จักช่วยเหลือกันแสดงความมีน้ำใจความห่วงใยที่ดีต่อกันแม้เราเพิ่งจะรู้จักกัน
      


   หลังจากจบกิจกรรมรับน้องเราก็ได้รู้จักเพื่อนมากขึ้นได้รู้จักพี่ๆไม่ว่าจะเป็นปีสองปีสามหรือพี่ๆที่เป็นสายเลือดนิเทศศาสตร์ พี่ทุกคนได้ให้ทั้งความรู้คำปรึกษาที่ดีกับน้องช่วยดูแลน้องเป็นห่วงซึ่งกันและกัน มันทำให้ฉันได้รับรู้ถึงความอบอุ่นเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวเล็กๆที่ชื่อว่านิเทศศาสตร์ และฉันคิดว่ากิจกรรมรับน้องนี่แหละทำให้เราได้มารู้จักกันทำให้เราได้มาเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวนี้อย่างสมบูรณ์แบบ แม้จะผ่านความทุกข์แต่สุดท้ายเราก็จะเจอความสุขที่ปลายทาง ไม่ผิดหวังเลยที่ฉันได้ตัดสินใจเลือกเข้ามาอยู่ใน โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์การสื่อสารสื่อใหม่และฉันก็ดีใจเพราะฉันคือสายเลือดใหม่ในครอบครัวนี้แล้ว

ความสำเร็จก้าวแรกของน้องใหม่ในครอบครัว New media